การทำงานของเรา
มูลนิธิรักษ์เด็ก จดทะเบียนกับรัฐบาลไทย เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนและไม่แสวงหากำไร ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวที่เผชิญความเปราะบางในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
วิสัยทัศน์ : “เด็กทุกคนมีสิทธิ”
เราอยากเห็นเด็กทุกคนในพื้นที่โครงการของมูลนิธิฯ เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามสิทธิ ได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้ ทักษะชีวิต ได้รับการคุ้มครองจากการล่วงละเมิด การเลือกปฏิบัติ และการถูกทอดทิ้งละเลย.
พันธกิจ
มุ่งมั่นให้เด็กทุกคนเข้าถึงสิทธิตามหลักการและข้อบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยเน้นทำงานกับกลุ่มเด็กที่เสียเปรียบในสังคม ส่งเสริมการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ทักษะชีวิต กลไกการป้องกันคุ้มครองเด็ก โดยร่วมดำเนินงานกับชุมชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในฐานะผู้ให้สิทธิ (Duty Bearer) ด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มเปี่ยมตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์การดำเนินงานของมูลนิธิรักษ์เด็ก ได้แก่
- จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมทักษะชีวิตตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแก่เด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแบบองค์รวม
- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิเด็กและแผนงานพัฒนาทักษะชีวิตอย่างยั่งยืน
- สร้างพันธมิตรงานรณรงค์ด้านสิทธิเด็กในภาคเหนือตอนบนของไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กในวงกว้าง
- ดำเนินการร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติอื่นๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะที่มากขึ้น
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมส่งเสียงอย่างเข้มแข็งของเด็กและเยาวชน โดยสนับสนุนการขับเคลื่อนสิทธิเด็ก แผนงานที่สร้างสรรค์ และนโยบายที่ดีกว่าเพื่อและร่วมกับเด็กและเยาวชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการมีความยั่งยืน ตลอดจนสอดคล้องกับผลประโยชน์และสิทธิของเด็กในฐานะผู้มีสิทธิ
มูลนิธิรักษ์เด็ก ใช้กรอบความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเสริมสร้างพลังให้กับสมาชิกในชุมชน มีแผนงานและโครงการที่ครอบคลุมทุกช่วงวัยของเด็ก ตั้งแต่ก่อนที่เด็กจะเกิด โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับแม่ที่ตั้งครรภ์ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ การดูแลและพัฒนาการในช่วงปฐมวัยด้วยครอบครัว ศูนย์รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กในหมู่บ้าน และโรงเรียน ส่งเสริมแนวคิดหลักด้านทักษะชีวิต “รู้สิทธิ รู้รากเหง้า รู้เท่าทัน “โลก” ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจนถึงอายุ 18 ปี
โครงการส่วนใหญ่ของมูลนิธิรักษ์เด็ก ทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง และผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความยากจนขั้นรุนแรงและปัญหาการไร้สัญชาติ รวมถึงความท้าทายอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลบนภูเขาสูงและพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยและเมียนมาร์
ในปี พ.ศ.๒๕๖๗ มูลนิธิรักษ์เด็กมีแผนดำเนินงานโครงการ ๖ โครงการ คือ:
- โครงการ “สนับสนุนการรักษาโรคหัวใจแก่เด็กและครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก” (PFCP) ได้งบประมาณสนับสนุนจาก Edwards Lifesciences Foundation ผ่าน CAF America และบริษัท Daiichi Sankyo Limited Thailand
- ที่โครงการ “เสริมพลังแก่กลุ่มผู้หญิงพึ่งตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาแก่ลูกหลาน”(MWEC) ได้งบประมาณสนับสนุนจาก Kinder not hilfe (KNH) ประเทศเยอรมัน
- ที่Build Back Betterโครงการเสริมพลังและความเข้มแข็งแก่เครือข่ายเยาวชนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง และเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมด้านสิทธิเด็กในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (EE-CR) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก Diakonia Thailand.
- โครงการStrengthen and Empower the Lanna Child Rights Coalition โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมพลังแก่เครือข่ายสิทธิเด็กล้านนาเพื่อการขับเคลื่อน ผลักดัน ส่งเสริม และ คุ้มครองสิทธิเด็ก (SE-LCRC) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก Kinder not hilfe (KNH) ประเทศเยอรมัน
- ‘โครงการยืนหยัด ขจัดการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก; SUFASEC’ supported by Down to Zero (DtZ) Network and CRC Asia
- B.O.L.D. โครงการ “เสริมสร้างเครือข่ายองค์กรระดับท้องถิ่นเพื่อพัฒนานโยบายด้านเด็กและสตรี” B-O-L-D “Building Organisations & Local actors Dialogue (for) – Policy” ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาแห่งสหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับ Diakonia Thailand