Lanna Child Rights Coalition (LCRC) and Child Rights Youth Activists Groups (CRYA)

โครงการเสริมพลังและความเข้มแข็งแก่เครือข่ายเยาวชนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง และเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมด้านสิทธิเด็กในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (EE-CR)) เป็นปีที่สามของการดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม ๒๕๖๖ เป็นการทำงานเชื่อมกับเครือข่ายสิทธิเด็กล้านนา โดยมีมูลนิธิรักษ์เด็กทำหน้าที่เป็นกองเลขานุการ ได้เติมเต็มและต่อยอดการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสิทธิเด็กล้านนา อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีองค์กรภาคประชาสังคมใหม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก ๓ องค์กร รวมกับจำนวนองค์กรสมาชิกเดิมเป็น ๑๘ องค์กร หน่วยงานภาครัฐ จำนวน ๗ องค์กรและกลุ่มเครือข่ายเด็กและเยาวชนจำนวน ๑๗ กลุ่ม รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๔๒ องค์กร/กลุ่ม

รูปแบบการงานแบบเครือข่าย เป็นกลไกในการสนับสนุนสิทธิเด็กภายในประเทศ ทั้งด้านเสริมสร้างศักยภาพ การแบ่งปันความรู้และปฏิบัติการในพื้นที่ทำงานร่วมกันของโครงการ และกิจกรรมสนับสนุนสิทธิเด็กต่างๆ ขององค์กรสมาชิก ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญของเด็กในฐานะผู้มีสิทธิ มุ่งเป้าเพื่อเสริมอำนาจให้เครือข่ายทั้งสองมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสิทธิเด็กและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในแนวทางปฏิบัติ มาตรการ งบประมาณและนโยบายของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้สิทธิแก่เด็กและเยาวชน

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมพลังแก่เครือข่ายสิทธิเด็กล้านนาเพื่อการขับเคลื่อน ผลักดัน ส่งเสริม และ คุ้มครองสิทธิเด็ก (SE-LCRC) ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน ๒๕๖๖ ได้ส่งเสริมให้การขับเคลื่อนงานของกองเลขานุการ ของเครือข่ายสิทธิเด็กล้านนา จัดเวทีการประชุมสัมมนากับองค์สมาชิกอย่างต่อเนื่อง เกิดการสัมมนาและอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์ปัญหาของเด็กและเยาวชนในภาคเหนือตอนบนตามสิทธิที่พวกเขาพึงมีพึงได้ และมีความเห็นพร้องกันว่าจะเน้นขับเคลื่อนประเด็นสิทธิเด็กเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีชีวิตที่ดี

ขึ้น ๔ ประเด็นคือ ๑). ประเด็นสิทธิเด็กที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรงทุกประเภทและทุกสถานที่ทั้งในบ้าน โรงเรียน ชุมชน สถานสงเคราะห์และในโลกออนไลน์ ๒).ประเด็นสิทธิเด็กที่ต้องได้รับการพัฒนาสถานะบุคคล เข้าถึงการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล ๓). ประเด็นสิทธิเด็กที่จะมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีสุขภาวะโดยเน้นที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๔).ประเด็นสิทธิเด็กที่จะเข้าถึงการศึกษา การส่งเสริมทักษะวิชาอาชีพที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาติพันธุ์ของตนเอง ทำให้เกิดการบูรณาการแผนงาน งบประมาณ ทรัพยากรระหว่างองค์กรสมาชิก โดยเฉพาะการร่วมกันขับเคลื่อนงานรณรงค์ผลักดันสิทธิเด็ก๔ ประเด็น ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ประเทศ และระดับสากล

thThai